Background

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นโครงการพัฒนาระบบรางระดับชาติตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)

 

โครงการนี้เป็นโครงการที่รัฐบาลภายใต้แกนนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งรัดผลักดันเพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและการลงทุนหลักของประเทศ และก้าวไกลในเวทีโลก โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักด้านคมนาคม ที่จะเชื่อมโยงระหว่างท่าอากาศยานหลักของประเทศ คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และนำความเจริญเติบโตด้านต่างๆ เข้าสู่พื้นที่ EEC สร้าง New S-Curve ใหกับเศรษฐกิจของไทย

2553-2556

รัฐบาลได้มีการดำเนินโครงการรถไฟเชื่อมกรุงเทพภาคตะวันออกมาก่อนหน้านี้แล้ว ได้แก่ การเปิดใช้บริการรถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (ARL) ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ (2553-ปัจจุบัน) และศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ- ระยอง (2556) รัฐบาลจึงได้ปรับปรุงโครงการขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน

5 เมษายน 2560

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ครั้งที่ 1 โดยได้หหารือถึงแผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

27 มีนาคม 2561

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยวิธีการคัดเลือกเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ

24 ตุลาคม 2562

ลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับเอกชนคู่สัญญา บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดื้ง จำกัด และพันธมิตร)

2564-2569

ดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

2569

รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเปิดให้บริการ

Scroll Up